พระสมเด็จวัดระฆัง# T13 หลังร่องสวน |
คนที่ติดตามอ่านบทความของข้าพเจ้าจะเห็นว่าข้าพเจ้าไม่ได้เน้นพิมพ์ทรงหรือจุดตำหนิแบบคนอื่นคือพระของใครเขาก็จะเอาพระของเขาเป็นมาตราฐานในการกำหนดพิมพ์ทรงและตำหนิ พระสมเด็จที่ข้าพเจ้านำเสนอจะให้เห็นการพัฒนาของเนื้อพระแต่ละเนื้อที่มีความแตกต่างกันบ้าง
พระสมเด็จชุดนี้เป็นเนื้อพระสมดุลคือมีทั้งเนื้อปูนเปลือกหอยสุกและเปลือกหอยดิบ ปูนเปลือกหอยสุกคือแคลเซียมออกไซด์ปูนสุกเมื่อทำปฎิกริยากับนำจะได้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ส่วนที่เป็นผงแห้งจะได้เป็นปูนขาว ส่วนที่เป็นสารแขวนลอยคือน้ำปูนไลม์ ที่เห็นคราบขาวๆติดอยู่ที่ผิวพระซึี่งเซียนพระรุ่นเก่าที่ไม่รู้หลักวิทยาศาตร์ก็จะบอกว่าคราบแป้งโรยพิมพ์ เวลานี้ถ้าใครมาบอกว่าคราบแป้งโรยพิมพ์ก็ให้รู้ได้เลยว่าอ่านตำราเซียนมาอย่างเดียวเชื่อคำพูดของเซียน ปูนเปลือกหอยดิบคือ มีสารจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่นๆเช่น แคลเซียมฟอสเฟส แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมฟอสเฟส แมกนีเซียมซิลิเกต โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน
สังเกตุการพัฒนาของเนื้อพระสมเด็จการงอกของเนื้อปูนสุกจะงอกในพื้นที่ต่ำและคราบน้ำปูนไลม์หรือคราบแคลเซียมจะเกิดในพื้นที่ต่ำเช่นกัน ส่วนองค์พระทั้งหมดและเส้นซุ้มระฆังเป็นพื้นที่สูงจะมีการงอกของเนื้อปูนดิบจะไม่มีคราบน้ำปูนไลม์เกาะ เวลาส่องพระจะเห็นเกล็ดเล็กๆเป็นประกายส่วนใหญ่เป็นมุกที่เป็นส่วนประกอบส่วนในสุดของหอยที่ประกอบด้วยผลึกรูปร่างต่างๆกันของสารประกอบแคลเซียมซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของอะราโกไนต์เป็นชั้นที่เรียบที่มีความหนาบางต่างกันไปตามแต่ชนิดของหอย ทำให้เปลือกมีสีขาวขุ่นและเป็นมันแวววาวต่างกัน
พระสมเด็จชุดนี้ถ่ายรูปองค์พระเพื่อให้เห็นการพัฒนาของเนื้อปูนสุกและปูนดิบที่ชัดเจน(ถ้าชัดกว่านี้ก็อาจไม่เข้าใจกระบวนการพัฒนาของเนื้อพระปูนสุกปูนดิบและเวลาไปหาส่องพระจริงๆคงไม่ยกกล้องขยายกำลังสูงหลายเท่าไปด้วย คนปล่อยพระคงไม่ให้นอกจากตกลงราคากันเรียบร้อยแล้ว) ซึ่งพระสมเด็จของเซียนหรือคนดังไม่มีให้เห็นหรือศึกษาได้อย่างนี้(ส่วนใหญ่เห็นรูปพระแต่ด้านหน้าและไม่ค่อยจะชัด) พระสมเด็จชุดนี้ส่วนใหญ่มีการลงรักเอาไว้และรักหลุดร่อนหมดไปแล้วแต่ก็มีบางองค์ที่อาจเห็นเศษรักเก่าติดอยู่บ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นคราบน้ำรักเกิดตามรอยแตกแยกขององค์พระและจะเกิดในส่วนผิวพระบางๆจะไม่ลงลึกลงไปเนื้อพระ ถ้ามีการแตกลายมากทั้งองค์ ส่วนที่อยู่ใกล้องค์พระและเส้นซุ้มระฆังจะแตกลายมากกว่าส่วนอื่น ตรงฐานพระก็เช่นกันจะแตกลายมากกว่าพื้นผิวราบที่ไม่ติดกับองค์พระและเส้นซุ้ม ตามรอยแตกที่มีคราบน้ำรักติดอยู่จะเห็นคราบน้ำปูนแคลเซียมเม็ดเล็กๆอยู่ คราบน้ำปูนบนผิวพระเมื่อแห้งแล้วยังให้เห็นละอองเศษปูนเล็กๆติดอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ถ้าจับตัวมากเมื่อมองด้วยตาเปล่าก็เห็นมีคราบปูนอยู่ผิวพระซึ่งสมัยก่อนเขาเรียกแป้งโรยพิมพ์สมัยนี้เรียกคราบแคลเซียมแต่ถ้าส่องด้วยกล้องขยายดีๆก็จะเห็นคราบแคลเซียมเป็นละอองเล็กๆ
คราบน้ำรักมองดูคล้ายปากรูมดที่มีขุยอยู่ด้านบนหรือทางปลวกที่กินไม้ไปแล้ว แต่คราบขุยนี้จะละเอียดและบางกว่าขุยปากรูมด
ถ้าชาวต่างชาติได้เห็นและศึกษาพระชุดนี้คงบอกว่า Amazing โดยเฉพาะด้านหล้งองค์พระแบบร่องสวนที่มีความมหัศจรรย์เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง สิ่งมหัศจรรย์ขนาดเล็กที่เป็นธรรมชาติและมีการพัฒนาต่อเนื่องของการงอกของเนื้อปูน ต่างจากสิ่งมหัศจรรย์ขนาดจิ๋วอย่างอื่น เช่น เม็ดข้าวสารแกะลายที่แกะเสร็จก็จบตรงนั้น แต่พระสมเด็จกับมีอะไรให้พิจารณาให้มากกว่า พระสมเด็จอย่างนี้ถ้าไปอยู่ต่างประเทศอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของเขาเราจะไม่อายเขาเลย ไม่รู้ว่าวันดีคืนดีจะมีอะไรมาปรากฎให้เห็นที่องค์พระอีกหรือไม่(พระธาตุเสด็จ)
พระสมเด็จที่หลายคนเสาะแสวงหาเพราะความมหัศจรรย์ของเนื้อพระที่บอกเล่าถึงความเป็นธรรมชาติได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึงยุคสมัยหลวงปู่โต พิธีกรรมอันยิ่งใหญ่พลังพุทะานุภาพสูง
พระสมเด็จวัดระฆัง# T14 หลังร่องสวน |
พระสมเด็จวัดระฆัง# T19 หลังร่องสวน |
ปูนสุกปูนดิบงอกมองไปอาจคล้ายรังปลวกตะปุ่มตะป่ำ
พระสมเด็จวัดระฆังรูปด้านล่างจากพระหลายองค์ให้พิจารณา
สนใจติดต่อ 092 339 5410
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น