พระลือซุ้มนาค# LSN 01 |
" พระลือซุ้มนาค เป็นพระเครื่องเมืองลำพูนอีกพิมพ์หนึ่ง ที่น้อยคนจะได้พบเห็นหรือบางคนแทบจะไม่รู้จัก แรกๆบรรดาเซียนพระเข้าใจกันว่าเป็นพระฝากกรุ จากการสังเกตพุทธศิลป์ของพระพิมพ์ชนิดนี้ มีศิลปะแบบขอมละโว้เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาได้มีการขุดค้นพบที่วัดมหาวัน และวัดสังฆาราม (ประตูลี้) ต.ในเมือง อ.เมืองลำพูน จึงทำให้ความเชื่อที่ว่าเป็นพระฝากกรุพลอยหมดสิ้นไป ทำให้เชื่อกันสนิทว่าพระเครื่องพิมพ์นี้ เป็นพระสกุลเมืองลำพูนโดยแท้
ลักษณะขององค์พระเป็นเนื้อดินเผาทุกองค์ เป็นรูปหยดน้ำขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้าง 2.5 ซม. สูง 4 ซม. หนา 1 ซม. มีขนาดไม่เท่ากัน ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะบางองค์ใหญ่ บางองค์เล็ก แต่ถึงจะอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีขนาดที่ไล่เลี่ยกัน ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการหดตัวของเนื้อดิน สำหรับสีขององค์พระ ก็มีอยู่ด้วยกันหลายสี อาทิสีดอกพิกุลแห้ง สีแดง และสีเขียวครก
ส่วนองค์พระจะประทับนั่งแบบสะดุ้งมาร โดยรอบองค์พระจะตีกรอบเป็นเส้นนูนหนา อ่อนโค้ง ล้อมรอบไปตลอดทั้งองค์ เปรียบเสมือนซุ้มรัศมี โดยรอบ พระเศียรของพระลือซุ้มนาค จะใหญ่ ทรงมงกุฎคล้ายหมวกซีโบ ซึ่งมีลักษณะแบบขอมโบราณ มีกระจังหน้าอย่างเห็นได้ชัด หูทั้ง 2 ข้างยาวเกือบจะจรดบ่า ดวงตาทั้ง 2 ข้างนูนโปนโต จะ เหลือบลงต่ำ จมูกบานใหญ่ ปากดูหนาเป็นปื้น หน้าตาดุดัน ซึ่งเป็นศิลปะหริภุญชัยโดยแท้ องค์พระจะประทับนั่งอย่างสง่า ดูเข้มแข็ง มือขวาวางทอดลงมาขนเข่าขวา มือซ้ายพาดลงบนหน้าตัก ตรงใต้อาสนะมีผ้าทิพย์ปูโค้งนูน ปรากฏให้เห็นอยู่ ณ จุดกึ่งกลาง เหนือจุดของนาคขอมทั้งสอง การประทับนั่งขององค์พระ พิมพ์นี้สันนิษฐานคงจะยึดถือตามคติของศาสนาพราหมณ์ผสมกับพุทธศาสนา อันสืบเนื่องมาแต่ลัทธิศาสนาฮินดูผสมกับพุทธศาสนาฝ่าย มหายาน ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลมากในยุคนั้นการห่มครองจีวรจะเป็นการห่มครองแบบพระรอด สะดือเป็นเบ้ากลมลึก(พระองค์ที่เห็นนี้เส้นสังฆาฏิยาวถึงพระนาภีปลายแฉก ไม่ตัดปีกเป็นการจงใจเพราะเนื้อส่วนเกินเหมือนใบโพธิ์ ตรงก้านใบกดเว้าเข้าไปมีเนื้อเกินอยู่ด้านหลังองค์พระ) ความเก่าขององค์พระมีอายุยืนยาว 1,300 ปี
ในด้านพุทธคุณของพระลือซุ้มนาค เชื่อกันว่าให้พุทธคุณทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และมีเมตตามหานิยม เรียกได้ว่าครอบจักรวาล เลยทีเดียวก็ว่าได้ จึงเป็นที่ปรารถนาของบรรดานักนิยมสะสมเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันเมื่อมีของแท้ ก็ย่อมมีของปลอม
เส้นสังฆาฏิยาวถึงพระนาภีปลายแตกแบบริบบิ้นหรือปากฉลาม |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น