พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 1 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัวยุคต้นปี พ.ศ. 2380 เนื้อสัมฤทธิ์แดงหรือสัมฤทธิ์ผล ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สีคล้ายมะขามเปียก พระกริ่งปวเรศชุดนี้มีการอธิษฐานจิตปลุกเสกเพิ่มตั้งแต่ 1- 31 พรรษา หลังองค์พระจาร "นะชาลีติ" ฐานด้านหลังไม่มีบัว ฐานชั้นบนจาร "นะมะพะทะ" ฐานชั้นล่างจารพ.ศ.ที่สร้างและพ.ศที่ปลุกเสกถึง ก้นครกบดยาจารเต็ม
พระกริ่งปวเรศที่สร้างในปี พ.ศ. 2380 มีสร้างหลายพิมพ์ อธิษฐานจิตปลุกเสกโดย พระวชิรญาณเถระ เจ้าอาวาสอันดับที่ 1 ของวัดบวรฯ(รัชกาลที่ 4 ในขณะนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ) หลวงปู่โต กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และพระคณาจารย์อีกหลายท่าน นับว่าเป็นพระกริ่งปวเรศที่ทรงคุณค่าที่มีอนาคตพระมหากษัตริย์ในขณะนั้นเป็นประธานอธิษฐานจิตปลุกเสก พระกริ่งปวเรศในชุดนี้จะมีพระญาณของรัชกาลที่ 4 ด้วย จริงเท็จอย่างไรพิจารณากันเองฯ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือ พระวชิรญาณเถระ ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรฯ พระองค์เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ 1 ของวัดบวรนิเวศฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2380-2394 (พระองค์ลาสิกขาในปี พ.ศ.2394 เพื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากรัชกาลที่ 3)
พระกริ่งปวเรศที่สร้างในปี พ.ศ. 2380 มีสร้างหลายพิมพ์ อธิษฐานจิตปลุกเสกโดย พระวชิรญาณเถระ เจ้าอาวาสอันดับที่ 1 ของวัดบวรฯ(รัชกาลที่ 4 ในขณะนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ) หลวงปู่โต กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และพระคณาจารย์อีกหลายท่าน นับว่าเป็นพระกริ่งปวเรศที่ทรงคุณค่าที่มีอนาคตพระมหากษัตริย์ในขณะนั้นเป็นประธานอธิษฐานจิตปลุกเสก พระกริ่งปวเรศในชุดนี้จะมีพระญาณของรัชกาลที่ 4 ด้วย จริงเท็จอย่างไรพิจารณากันเองฯ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือ พระวชิรญาณเถระ ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรฯ พระองค์เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ 1 ของวัดบวรนิเวศฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2380-2394 (พระองค์ลาสิกขาในปี พ.ศ.2394 เพื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากรัชกาลที่ 3)
เจ้าสัว ที่เรียกพระกริ่งปวเรศพิมพ์นี้ว่าพิมพ์เจ้าสัวเพราะสร้างในปี พ.ศ. 2380 อยู่ในช่วงรัชกาลที่ 3 เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า(ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์สมบัตินั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะยากจน เป็นอันมาก เนื่องจากเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ประเทศไทยได้ใช้เงินจำนวนมากมายมหาศาลเพื่อทำนุบำรุงบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นมาหลายอย่างเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง การปรับปรุงการเก็บภาษีอากรจากรูปของสินค้าและแรงงานเป็นชำระด้วยเงินตรา และที่สำคัญ คือ ภาษีที่ตั้งขึ้นมาใหม่ถึง 38 อย่าง นอกจากนี้รายได้ของรัฐอีกส่วนหนึ่ง ยังได้มาจากการค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญการส่งเรือสินค้ามาตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ จนสมเด็จพระชนกตรัสเรียกพระองค์ท่านว่า “เจ้าสัว” เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงทรงสนับสนุนการค้า ขึ้นอีก เป็นจำนวนมาก ทรงมีเรือกำปั่นพาณิชย์ประมาณ 11-13 ลำ เรือกำปั่นของขุนนางที่สำคัญอีก 6 ลำ รายได้จากการค้าสำเภานี้นับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งอีกประเภทหนึ่ง รายได้ของแผ่นดินในรัชกาลนี้ปรากฏว่าสูงขึ้นมาก บางปีมีจำนวนมากถึง 25 ล้านบาท เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต เงินในท้องพระคลังหลวงซึ่งหมายรวมถึงเงินค่าสำเภาด้วย เหลือจากการจับจ่ายของแผ่นดิน มี 40,000 ชั่ง และด้วยทรงมีพระราชหฤทัยห่วงใยในด้านการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชปรารภให้แบ่งเงินส่วนนี้ไปทำนุบำรุงรักษาวัดที่ชำรุดเสียหายและวัดที่สร้างค้างอยู่ 10,000 ชั่ง ส่วนที่เหลืออีก 30,000 ชั่ง โปรดให้รักษาไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการแผ่นดินต่อไป เงินจำนวนดังกล่าวนี้ กล่าวกันว่าโปรดให้ใส่ถุงแดงเอาไว้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) จะเห็นได้ว่า แม้สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์ยังมีส่วนช่วยเหลือประเทศให้รอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็ด้วยเงินถุงแดงที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้
ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) กรุงเทพมหานครถูกยึดครองเป็นเวลาถึง 12 วัน ด้วยกองเรือรบติดอาวุธของฝรั่งเศส อย่างหมดหนทางต้านทานจากฝ่ายไทย ชาวบ้านร้านตลาดพากันอพยพหนีภัยกันจ้าละหวั่นด้วยความแตกตื่นตกใจ แม้แต่พระปิยมหาราชยังทรงเสียพระราชหฤทัยจนประชวรหนัก และหยุดเสวยพระโอสถ ทรงสิ้นหวังรันทดท้อขนาดมีพระราชนิพนธ์โคลงฉันท์ “ส่งไปลา” เจ้านายพี่น้องบางพระองค์อย่างหมดอาลัยในพระชนมชีพ ไม่มีพระราชประสงค์ดำรงอยู่อีกต่อไป ทรงอดสูพระทัยที่ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายให้ดีขึ้นได้ จนมีข่าวลืออันอัปยศแพร่สะพัดไปในหมู่ชาวต่างด้าวว่า “พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงสั่งให้ขนพระราชทรัพย์ลงบรรทุกเรือพระที่นั่ง และเตรียมพร้อมที่จะเล็ดลอดหลบหนีออกไปจากเมืองหลวงในเวลากลางคืน เพื่อให้รอดพ้นภยันตรายต่างๆ” เส้นตายนั้นคือการตอบรับอย่างไม่มีเงื่อนไขใน ๔๘ ชั่วโมงตามข้อเรียกร้องหินของฝรั่งเศส ในคำขาดนี้มีคำข่มขู่อันแข็งกร้าวปราศจากข้อต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น ให้ทรงตัดสินพระทัย ชนิดที่ไม่มีทางออก โดยให้มอบผืนแผ่นดินในพระราชอาณาเขตบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยเงินค่าไถ่เป็นค่าปฏิกรณ์สงครามที่ฝ่ายไทยถูกกล่าวหาว่าก่อขึ้นก่อนโดยการเปิดฉากยิงเรือฝรั่งเศส คิดเป็นเงินสดจำนวนทั้งสิ้นรวม ๕,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังก์ และให้วางในทันทีก่อน ๑๘.๐๐ น. ของเย็นวันที่ ๒๒ กรกฎาคมศกนั้น มิฉะนั้นกระสุนจากปืนใหญ่บนเรือรบที่ทันสมัยที่สุดจะถูกสั่งให้ระดมยิงเข้าไปในพระที่นั่งจักรีอย่างไม่ปรานีอีกต่อไป
สมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ซึ่งยึดมั่นอยู่กับความหวังสุดท้าย ว่าอังกฤษจะไม่ทอดทิ้งประเทศของพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะขัดขืนฝรั่งเศสและข้อเรียกร้องต่างๆ ฝ่ายที่ต่อต้านฝรั่งเศสนี้เป็นพวกที่ชื่นชมอังกฤษ
ความเฉยเมยของอังกฤษ และต่อมาคำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะไม่ยอมเข้าแทรกแซงในความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทำให้พระปิยมหาราชทรงผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ก่อนถึงเส้นตายในการหาค่าไถ่ มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทูลเตือนให้ทราบ ถึงเงินพระคลังข้างที่จากสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเก็บสะสมไว้จำนวนหนึ่งใน “ถุงแดง” เงินพระคลังข้างที่คือพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดินส่วนหนึ่ง ที่แบ่งถวายพระมหากษัตริย์เพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
“เงินถุงแดง” ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสะสมไว้เป็นเงินส่วนพระองค์ แต่ก็แปลกที่เงินนี้ไม่ใช่เงิน “พดด้วง” ซึ่งเป็นเงินของไทยที่ใช้อยู่ในสมันนั้น แต่กลับเป็นเงินของประเทศเม็กซิโกที่อยู่คนละซีกโลก ซึ่งเรียกกันว่า “เหรียญนก” เพราะเป็นเหรียญที่มีรูปนกอินทรีย์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเม๊กซิโก และเป็น 1 ใน 3 ของสกุลเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้ากันในย่านนี้ เช่นเดียวกับเงินเปรูและเงินรูเปียของอินเดีย เงินถุงแดงนี้สามารถช่วยไถ่ประเทศจากการรุกรานล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ รวมกับเงินและทรัพย์สมบัติของเชื้อพระวงศ์อีหลายพระองค์ ในขณะที่เงินถุงแดงมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านฟรังก์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและประชาชน ได้ช่วยกันขายทรัพย์สินและบริจาคจนได้เงินเพิ่มมาอีก 600,000 ฟรังก์ จนครบ 3 ล้านฟรังก์ จึงสามารถจ่ายค่าไถ่ครั้งนี้ได้ ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชมาได้จนถึงทุกวันนี้
“เงินถุงแดง” ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสะสมไว้เป็นเงินส่วนพระองค์ แต่ก็แปลกที่เงินนี้ไม่ใช่เงิน “พดด้วง” ซึ่งเป็นเงินของไทยที่ใช้อยู่ในสมันนั้น แต่กลับเป็นเงินของประเทศเม็กซิโกที่อยู่คนละซีกโลก ซึ่งเรียกกันว่า “เหรียญนก” เพราะเป็นเหรียญที่มีรูปนกอินทรีย์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเม๊กซิโก และเป็น 1 ใน 3 ของสกุลเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้ากันในย่านนี้ เช่นเดียวกับเงินเปรูและเงินรูเปียของอินเดีย เงินถุงแดงนี้สามารถช่วยไถ่ประเทศจากการรุกรานล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ รวมกับเงินและทรัพย์สมบัติของเชื้อพระวงศ์อีหลายพระองค์ ในขณะที่เงินถุงแดงมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านฟรังก์ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและประชาชน ได้ช่วยกันขายทรัพย์สินและบริจาคจนได้เงินเพิ่มมาอีก 600,000 ฟรังก์ จนครบ 3 ล้านฟรังก์ จึงสามารถจ่ายค่าไถ่ครั้งนี้ได้ ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชมาได้จนถึงทุกวันนี้
เพื่อถวายพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2380 ที่เป็นปีที่มีการพระกริ่งปวเรศไว้หลายพิมพ์จึงสร้างพระกริ่งปวเรศที่มีพระพักตร์ละม้ายคล้ายพระองค์ท่าน ถ้าจะเรียกพระกริ่งปวเรศพิมพ์นี้ว่าพิมพ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคงจะไม่สะดวก ก็คงเรียกชื่อพิมพ์เจ้าสัวดูจะเหมาะสมกว่าและมีความหมายที่ดีเกี่ยวกับการมั่งมีเงินทองระดับเจ้าสัว เนื่องด้วยการสร้างพระกริ่งปวเรศในยุคหลวงปู่โตไม่ได้มีการตกแต่งองค์พระให้สวยงามเหมือนพระกริ่งปวเรศในยุคหลังหลวงปู่โต พระกริ่งปวเรศที่สวยมาจากแม่พิมพ์ซึ่งพระกริ่งที่สร้างมีทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์มีขาดมีเกินบ้าง พระกริ่งปวเรศพิมพ์นี้มีเอกลัษณ์ที่พระพักตร์คล้ายพระองค์ท่าน พระกริ่งปเรศพิมพ์เจ้าสัวพิมพ์นี้สร้างก่อนเกิดเหตุการฝรั่งเศสจะยึดพระนคร
เมื่อทำการอธิษฐานจิตตรวจสอบขออนุญาตเรียกพระกริ่งปวเรศองค์นี้ว่า "พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว" จะได้หรือไม่ กระแสพลังมากระทบแม้ขณะที่เขียนกระแสพลังมาเรื่อยๆ อธิษฐานต่อไปว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว พิมพ์นี้ถูกโฉลกกับข้าพเจ้าหรือไม่ กระแสญาณมากระทบทำให้ปิติน้ำตาไหลเลยทีเดียว (เป็นความเชื่อส่วนตัว อ่านแล้วใช้วิจารณญาณในการพิจารณาครับ)
เรือสำเภาเจิ้งเหอเรือมหาสมบัติของของจักรพรรดิจีนยาว 400 ฟุต ขนาดใหญ่กว่าเรือ ซานตา มาเรีย ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 1 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร นะมะ ล่างจาร ๒๓๘๐ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 1 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร พะทะ ล่างจาร ๒๓๘๑ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 2 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 2 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร นะมะพะ ล่างจาร ๒๓๘๐ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 2 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร พะทะ ล่างจาร ๒๓๘๒ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 2 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง ก้นจารอักขระเต็ม |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 19 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 19 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง สะโพกจาร "นะชาลีติ" ฐานบังด้านบนจาร นะมะ ด้านล่างจาร ๒๓๘๐ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 19 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร พะทะ ล่างจาร ๒๓๙๙ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 26 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 26 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร นะมะพะ ล่างจาร ๒๓๘๐ |
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจ้าสัว สร้างปี พ.ศ. 2380 อธิษฐานจิตปลุกเสก 26 พรรษา เนื้อสัมฤทธิ์แดง บนจาร พะทะ ล่างจาร ๒๔๐๖ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น