พระกริ่งปวเรศบุทองคำประดับพลอยสร้างปี พ.ศ.2451 |
พระกริ่งปวเรศ ยุคปลายเป็นพระกริ่งปวเรศที่สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2451 เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกในครั้งนี้ได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิตโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง นับเป็นเรื่องมงคล 2 ต่อ
การสร้างพระเครื่องในวาระนี้เป็นพิธีใหญ่ พระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศในเวลานั้นได้มาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย
พระกริ่งปวเรศในวาระนี้มีการเตรียมงานล่วงหน้าเป็นเวลานาน ช่างหลวงได้นำพระกริ่งปวเรศพิมพ์ต่างๆตั้งแต่ยุคต้นมาคัดเลือกในการจัดสร้างและตกแต่งให้สวยงามด้วยทองคำและพลอย โดยในส่วนของทองคำเรียกว่าการบุทอง คือการนำทองคำมาตีแผ่และเข้าเครื่องรีดให้บางที่สุดเท่าที่ทำได้และนำตุ๊ดตู่หลายขนาดมาตอกเพื่อให้ได้แผ่นทองขนาดที่ต้องการ เมื่อได้แผ่นทองขนาดที่ต้องการแล้วก็นำไปวางบนลูกประคำหรือวัตถุอื่นมีลักษณะทรงกลมและมีเครื่องมืออีกชิ้นครึ่งวงกลมมีด้ามจับไปกดอัดทับแผ่นทองเพื่อให้ได้แผ่นทองมีลักษณะเหมือนกระทะหรือโล่แล้วใช้เทียนขี้ผึ้งปั้นเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการใช้ปลายข้างหนึ่งกดที่โล่ทองแล้วนำไปติดที่องค์พระตามที่ต้องการ แต่ก่อนหน้านั้นใช้น้ำยางเคี้ยวให้เหนียวข้นไปหยดติดองค์พระในตำแหน่งที่ต้องการก่อน สังเกตุที่พระศกของพระกริ่งที่มีขนาดเล็กมาก ช่างจึงหยดน้ำยางขึ้นใหม่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแต่การตกแต่งมีความสวยงามได้พอเหมาะ ก้นพระกริ่งที่ใช้โลหะที่มีตรา จ.ป.ร. ปิดก้นแต่ไม่ปิดให้เรียบเป็นพื้นเดียวกัน แต่มีส่วนยื่นพ้นเนื้อพระขึ้นมาเล็กน้อยแล้วใช้น้ำยางทาและใช้แผ่นทองคำ จ.ป.ร.หุ้มเอาไว้ ตรงรอบๆแผ่นทองมีเศษน้ำยางติดอยู่และด้วยเวลา 111 ปี น้ำยางที่แห้งแล้วทำปฏิกิริยากับอากาศมีราเขียวเกิดขึ้นให้เห็นบ้าง(พอจะอธิบายความเป็นไปได้ครับ)พระกริ่งปวเรศในวาระพิเศษนี้มีตราพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ติดเป็นสัญลักษณ์หรืออาจใช้วิธีตอกไปที่องค์พระ แม้แต่พระสมเด็จบุทองคำบางองค์ก็มี ตราพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. จะสังเกตุได้ว่าไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งหรือพระสมเด็จจะใช้ทองคำแท้บุองค์พระ แต่ถ้าเป็นพระกริ่งที่ทาทองหรือทาสีเงินด้วยสีนากด้วยให้คิดเลยว่าเป็นพระกริ่งโรงงาน ถ้าพิจารณาจากทั้งพระกริ่งและพระสมเด็จจะเห็นได้ว่าช่างจะใช้ทองคำแท้มาบุองค์พระ พระสมเด็จบุทองเหลืองพระสร้างเลียนแบบในตลาดท่าพระจันทร์มีเยอะมาก พระกริ่งปวเรศทาสีทองวิทยาศาสตร์ก็มีไม่น้อย
การตรวจสอบความเป็นทองคำแบบง่ายๆ ให้ใช้ปลายไม้จิ้มฟันอันใหม่กดลงที่แผ่นทองตัวแผ่นทองจะยุบไปตามแรงมือกดหรือใช้ปลายไม้งัดที่มุมใดมุมหนึ่งและพับไปฝั่งตรงข้ามจะพับได้ง่าย แต่ถ้าเป็นทองเหลืองจะมีความแข็งกว่าทองคำ เนื้อทองคำแท้จะนิ่ม หรือนำพระไปเช็คความเป็นทองได้ที่ร้านทองในดิโอสยาม แต่จริงๆใช้วิธีพับแผ่นทองด้วยปลายไม้ก็รู้ได้แล้ว
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าพระเครื่องที่สร้างในปี พ.ศ.2451 เป็นปี พ.ศ.2411 ตัวอย่างเช่นพระสมเด็จที่ประดับพลอยบุทองคำ ด้านหลังเป็นพระรูปของรัชกาลที่ 5 ทรงสมบูรณ์ภาษาชาวบ้านว่ารูปร่างท้วมสมบูรณ์พระชนมายุ 55 พรรษา แต่ปี พ.ศ.2411 พระองค์มีพระชนมายุ 15 พรรษา ยังทรงเป็นวัยรุ่นอยู่เลย ลักษณะแตกต่างกันมากวัยหนุ่มกับวัยผู้ใหญ่ อย่างที่บอกไปว่าการสร้างพระเครื่องในปี พ.ศ.2451 มีเวลาเตรียมการมากแต่ในปี พ.ศ.2411เวลาเตรียมการน้อยมากพระกริ่งและพระสมเด็จจะนำมาประดับพลอยบุทองนั้นไม่มี ต้องอาศัยแรงงานลูกศิษย์ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่โต ข้าราชบริพารและเจ้านายชั้นสูงช่วยกันสร้างพระเครื่องต่างๆ ซึ่งจุดเด่นของพระสมเด็จในวาระนี้คือพระสมเด็จตระกูลเปลือกไม้ที่มีพิมพ์ร่องสวน พิมพ์หลังหมอน พิมพ์รังผึ้ง(ขนมรังผึ้ง) พิมพ์หลังยันต์ พิมพ์หลังอักษรจีนมงคลตระกูลแซ่พิมพ์หลังท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ พระสมเด็จโรยผงตะไบทองคำ ส่วนพระกริ่งปวเรศที่สร้างในวาระนี้มีแต่ได้อ้างอิง ข้าพเจ้าเคยถามเพื่อนที่ได้ครอบครองพระกริ่งปวเรศจากเจ้านายชั้นสูงซึ่งพอจะมีหลักฐานที่หลงเหลือไว้บ้างว่ามีพระกริ่งปวเรศที่สร้างในปี พ.ศ.2411 ไว้บ้างหรือไม่ เขาบอกไม่มีเลย เพื่อนคนนี้มีพระกริ่งปวเรศเป็นชุดที่มีจารอักขระและปี พ.ศ. พระกริ่งปวเรศในบาตรน้ำมนต์ พระกริ่งปวเรศในผอบ พระกริ่งปวเรศในขันสาคร พระกริ่งปวเรศในเก๋งจีน และเครื่องรางต่างๆของกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สร้างและปลุกเสกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหุ่นพยนต์ มีดหมอ ไม้ตะพด แหวนพิรอด ตะกรุดต่างๆและอีกมากที่ไม่เคยมีการบันทึกเอาไว้ซึ่งของแต่ละอย่างจะมีการจารอักขระกำกับเอาไว้ว่าสร้างเมื่อใด แต่ไม่มีพระกริ่งปวเรศชุดไหนเลยที่บอกว่าสร้างปี พ.ศ.2411 มีหลายคนนำข้อมูลจากไหนไม่รู้ว่ามีพระกริ่งปวเรศที่สร้างปี พ.ศ.2411 ด้วย ก็มีแต่คำพูดคำบอกเล่าแต่วัตถุพยานไม่มีปรากฏให้เห็นอย่างที่ข้าพเจ้านำเสนอมีจาร พ.ศ.กำกับให้รู้ว่าพระกริ่งปวเรศชุดนี้ชัดนั้นสร้างปี พ.ศ. อะไร
ก็ต้องพิจารณาให้ดี หลักฐานบางอย่างอ้างอิงมาจากไหนเป็นที่เชื่อถือได้หรือไม่ เซียนพาณิชย์อ้างไว้มีหลักฐานหรือวัตถุพยานอะไรบ้าง กลุ่มอนุรักษ์มีหลักฐานอะไรเท่าที่ข้าพเจ้าเห็นเป็นวัตถุพยานก็มีพระกริ่งปวเรศที่มีจารอักขระและปี พ.ศ.ซึ่งข้าพเจ้าก็มีอยู่หลายชุด การพิสูจน์ที่ทางวิทยาศาตร์พิสูจน์ไม่ได้การถามพระเบื้องบนวิธีนี้รู้เฉพาะตนคนอื่นได้แต่ฟังไม่สามารถรับรู้ได้จริง อารอธิษฐานจิต การสัมผัสพลัง ซึ่งแต่ละอย่างอยู่ที่ความเชื่อและศรัทธาด้วยแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของสากลจะเป็นเฉพาะกลุ่มแต่คนสิงคโปร์กลุ่มหนึ่งยอมรับในเรื่องนี้มากกว่าคำบอกเล่าของเจ้าของพระและเซียนพระเพราะเขาคิดว่าเรื่องแบบนี้โกหกกันไม่ได้ พระแท้ย่อมมีพลังพุทธานุภาพมีพลังบวกอยู่ในตัวที่มีมากกว่าหินสีต่างๆที่เป็นที่ยอมรับของคนบางกลุ่มที่เชื่อในเรื่องโชคลางการบำบัดโรคด้วย
ในเวลานี้วงการพระเครื่องมีการปรับตัวต่างจากสมัยก่อนเป็นอย่างมากที่คนส่วนใหญ่จะเชื่อคำพูดเซียน แต่เดี๋ยวนี้มีการเรียนรู้มากขึ้น ศึกษามากขึ้นมีชมรมพระเครื่องต่างๆหลายชมรมที่ให้ทั้งความรู้และบางชมรมก็มีการประกวดพระออกในเซอร์ ผลประโชยน์มีแน่นอน คนที่นำพระไปประกวดก็หวังเพิ่มมูลค่าให้พระของตัวเอง คนที่นำพระไปออกใบเซอร์ก็เช่นกัน บางคนนำพระไปออกใบเซอร์หลายใบแต่นำไปเปิดราคาในชมรมพระเครื่องของเซียนพาณิชย์ก็ถูกตีเก๊ พระสายอนุรักษ์กับสายพาณิชย์ไปคนละทาง ผลประโยชน์ขัดกัน ทุกคนหวังผลประโยขน์กันทั้งนั้นอยู่ว่าจะมากหรือน้อยต่างกัน
พระกริ่งปวเรศบุทองคำประดับพลอยสร้างปี พ.ศ.2451 ก้น จ.ป.ร.ทองคำแท้ |
พระกริ่งปวเรศบุทองคำประดับพลอยสร้างปี พ.ศ.2451 |
พระกริ่งปวเรศบุทองคำประดับพลอยสร้างปี พ.ศ.2451 ใต้ฐานตอกโค๊ตตัวเลข |
พระสมเด็จวัดพระแก้วบุทองคำแท้ 5 พระมหากษัตริย์และพระปรมาภิไธย จปร สร้างปี พ.ศ.2451 |
พระสมเด็จวัดพระแก้วบุทองคำแท้ สร้างปี พ.ศ.2451 พระชนมายุ 55 พรรษาพระรูปทรงสมบูรณ์แบบคนมีอายุ ถ้าเป็นปี พ.ศ.2411พระชนมายุ 15 พรรษา พระรูปจะไม่เป็นอย่างนี้ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น