เมื่อความต้องการพระกริ่งปวเรศมีมากขึ้นในนักสะสม ก็ทำให้มีพระกริ่งปวเรศของเทียมเลียนแบบหรือที่เขาเรียกกันว่าพระเก๊สร้างขึ้นมามากมายหลายพิมพ์ โดยเฉพาะพระกริ่งปวเรศในเก๋งจีนทรงสี่เหลี่ยม พระกริ่งปวเรศในเก๋งจีนเสา 5 ต้นแบบโคมไฟประดับสวนของญี่ปุ่น พระกริ่งปวเรศซุ้มเรือนแก้วพุ่มพระศรีมหาโพธิ์
พระกริ่งปวเรศซุ้มเรือนแก้วพุ่มพระศรีมหาโพธิ์ ตามรูปข้างบนเป็นของเก๊ที่สร้างมาหลอกมาล่อคนที่เริ่มศึกษาพระกริ่งปวเรศแล้วมีคนหลงไปบูชามาครอบครอง ของจริงลักษณะเป็นอย่างไรเปรียบเทียบจากรูปด้านล่างและประวัติ
พระนิรันตรายในซุ้มเรือนแก้วพุ่มพระศรีมหาโพธิ์
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธามากองค์หนึ่ง ลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๔ นิ้วครึ่ง ทรงครองจีวรห่มเฉียงมีริ้ว พระเศียรปราศจากพระเกตุมาลามีเพียงพระรัศมี ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับด้วยฐานสิงห์ค่อมซ้อนลงบนฐานบัวแปดเหลี่ยมแบบโรมันสำหรับรองรับน้ำสรง มีท่อระบายน้ำเป็นรูปศีรษะโค แสดงเครื่องหมายพระสกุล “โคตมะ” ขารองฐานเป็นรูปลูกแก้วทั้ง ๙ ขา หมายถึง นวหรคุณ ๙ มีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มพระศรีมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจำหลักในวงกลีบบัวทั้ง ๙ กลีบ จารึกพระคุณนามของพระพุทธองค์ตามบทสรรเสริญพระพุทธคุณ (อิติปิโส) ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๔ งดงามควรแก่การสักการะเป็นอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูป ประทับสมาธิเพชรให้ถูกต้องตามพุทธลักษณะ หล่อด้วยทองคำสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่งและให้เชิญไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆเสมอ ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี ทรงโปรดเกล้าฯให้หล่อพระนิรันตราย จำนวน ๑๘ องค์เท่ากับจำนวนปี ที่เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ แต่ยังมิได้กะไหล่ทอง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้กะไหล่ทองพร้อมจารึกหมายเลขกำกับ และพระราชทานไปยังพระอารามต่างๆจำนวน ๑๘ วัด
เปรียบเทียบรูปข้างล่างกับรูปข้างบน รูปข้างบนซุ้มเรือนแก้วพุ่มพระศรีมหาโพธิ์ของเก๊รูปศีรษะโคหายไป พระมหาพิชัยมงกุฎเป็นรูปอะไรไม่รู้ รูปล่างสุดเป็นพระกริ่งองค์เล็กที่ยังเห็นรูปสีรษะโค
พระนิรันตรายเป็นพระพุทธรูปหล่อจากทองคำ ประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ได้จากดงพระศรีมหาโพธิ์ พ.ศ.๒๓๙๙ กำหนดอายุเวลาประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ |
พระพุทธรูปประทับสมาธิเพชร ทองคำบริสุทธิ์ ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้วครึ่ง สวมครอบพระพุทธรูปนิรันตรายนั้นอีกชั้นหนึ่ง และหล่อด้วยเงินบริสุทธิ์อีกองค์ให้เป็นคู่กัน โปรดเกล้าฯ ให้ถวายพระนามว่าพระนิรันตรายทุกองค์ |
พระกริ่งนิรันตราย วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา ที่ฐานยังปรากฏศีรษะโคให้เห็น |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น