พระกริ่งปวเรศ นะชาลีติ ร่ำรวยเงินทอง

พระกริ่งปวเรศ# หลังจาร นะชาลีติ (K-01)
         พระกริ่งปวเรศ เนื้อกะหลั่ยเงิน ก้นครกบดยา สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4  พิมพ์ทรงได้ต้นแบบมาจากกริ่งประเทศจีนที่ในขณะนั้นสยามประเทศและเมืองจีนยังมีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันและได้มีการส่งบรรณาการ(จิ้มก้อง)เพื่อเจริญราชไมตรี ชาวจีนได้เข้ามาค้าขายกับสยามประเทศนานแล้วตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และมาสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่คนจีนที่มาตั้งรกรากในบ้านเมืองสยามที่รักประเทศสยามและยังคงค้าขายเจริญรุ่งเรืองมากมาย โดยเฉพาะชาวจีนเยาวราชที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่โตได้ช่วยกดพิมพ์สร้างพระสมเด็จที่หลังพระมีอักษรจีนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มที่สร้าง ของกลุ่มราชนิกุลก็มีการปั้มลายเซ็นด้านหลังองค์พระเช่นกัน และมีเอกลักษณ์อีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ถูกเปิดเผยเพราะพระอยู่ในครอบครองของบุคคลชั้นผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีออกมาให้เห็นในขณะนี้ 
      การสร้างพระกริ่งในเบื้องต้นก็ได้ต้นแบบจากชาวจีนที่มาค้าขายเมืองสยามที่นำพระกริ่งจีนติดตัวมาเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่างทองชาวจีนก็ได้บอกส่วนผสมหลักในการสร้างพระกริ่งและช่วยแกะแม่พิมพ์ให้ด้วยพร้อมกับช่างหลวง พระกริ่งองค์ที่เห็นเป็นต้นแบบของพระกริ่งหน้าธิเบตอีกด้วยคือพระกริ่งหน้าธิเบตพระพักตร์จะดูเล็กกว่า พระกริ่งที่สมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสีร่วมปลุกเสกกับกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์และคณาจารย์อีกหลายท่าน จะมีตอกโค๊ตงาใหญ่กว่าพระกริ่งปวเรศรุ่นต่อมา พระกริ่งปวเรศยุคต้นจะมีก้นที่ลึกมาก(ก้นครกบดยา)ในการสร้างวาระต่อมาจะเป็นก้นถ้วยหรือปะก้น ซึ่งการสร้างจะง่ายกว่าการสร้างแบบก้นลึก พระกริ่งปวเรศบางวาระจะมีโค๊ตของผู้สร้างอย่างเช่นราชนิกุลและเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ จะเป็นการสร้างเฉพาะตระกูล ซึ่งจะไม่ค่อยมีให้เห็น นอกจากมีการมอบให้กับคนสนิทและต่อมาภายหลังลูกหลานไม่ทราบที่มาที่ไปก็นำออกมาปล่อยให้ผู้อื่นเช่าบูชาต่อไป พระทุกองค์จะอยู่กับเจ้าของแรกในช่วงอายุของเขาหรือช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะเปลี่ยนมือไปอยู่กับคนที่เหมาะสมต่อไป บางคนบอกว่าพระเลือกคน พระบางองค์กลับไปอยู่กับเจ้าของเดิม(เจ้าของในอดีตชาติที่เคยเก็บรักษาไว้และหรือคนที่เคยมีส่วนร่วมในการสร้างพระชุดนั้นๆ)
       พระกริ่งปวเรศหลังมีจารชุดนี้ข้าพเจ้าขอเรียก"พระกริ่งปวเรศรุ่นเศรษฐี" เนื่องจากหลังองค์พระแนวเดียวกับบัวคว่ำบัวหงายมีจารคำว่า "นะชาลีติ" ที่เป็น หัวใจพระสีวลี ชาวพุทธส่วนใหญ่จะรู้ประวัติของท่านเป็นอย่างดีคงไม่ต้องอธิบาย ส่วนด้านหลังพระทั้งหมด จะมีคำว่า "นะมะอะอุ" ที่หมายถึง ดวงแก้ววิเศษ 4 ประการ
      นะ สร้างเสริมหนุนธาตุน้ำ คือแก้วมณีโชติรส ( เด่นทางเสน่ห์และเมตตา แก้วสารพัดนึกมีกายสิทธิ์
      มะ สร้างเสริมหนุนธาตุดิน คือแก้วไพฑูรย์ ( เด่นทางอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ คงกระพันชาตรี ช่วยหนุนความคิด-พูด เช่น พระ เครื่องราง ของขลัง
      อะ สร้างเสริมหนุนธาตุไฟ คือแก้ววิเชียร ( เพชร ทำให้จิตใจหนักแน่นมั่นคง ป้องกันภัยทั้งปวง ใช้ทำลายสิ่งชั่วร้ายและหลอมรวมวัตถุ
      อุ สร้างเสริมหนุนธาตุลม คือแก้วปัทมราชมหาราชา (โชค ลาภ วาสนา ค้าขาย หน้าที่การงาน)
      บางอาจารย์ก็จะให้ความหมายอีกแบบว่า
       "นะ" หมายถึง พ่อ
       "มะ" หมายถึง แม่
       "อะ" หมายถึง พระรัตนตรัย (พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์)
       "อุ " หมายถึง พระอุปฌาย์-ครูบาอาจารย์

       




พระกริ่งปวเรศ# เนื้อสัมฤทธิ์ หลังจาร นะชาลีติ  นะ  มะอะอุ (K-02)



พระกริ่งปวเรศ# นะมะอะอุ = หัวใจพระไตรปิฎก, นะชาลีติ = หัวใจพระสีวลี

ก้นพระกริ่งจารคำว่า "อัง"


พระกริ่งปวเรศ#  กะหลั่ยเงิน หลังจาร นะชาลีติ (K-03)



        
พระกริ่งปวเรศเนื้อกระหลั่ยทอง โค๊ตประจำตระกูลผู้ใหญ่
พระกริ่งปวเรศ โค๊ตประจำตระกูลผู้ใหญ่


        สนใจบูชาโทร 092 339 5410

ความคิดเห็น